Mass shooting context comparison between USA and Thailand

เปรียบเทียบบริบทจากเหตุกราดยิงในประเทศสหรัฐอเมริกาสู่ประเทศไทย

Supawich O.
4 min readMay 6, 2020

8–9 กุมภาพันธ์ 2563 ณ Terminal 21 จังหวัดนครราชสีมา

source businessinsider.com

เกิดเหตุการณ์ “การกราดยิงที่รุนแรงเป็นครั้งแรกของประเทศไทย” จนเป็นโศกนาฏกรรมที่หลายคนต้องพบกับความสูญเสียซึ่งมิอาจจะเรียกร้องกลับมาได้ หนึ่งในความสูญเสียนั้นคือชีวิตของบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งล้วนเป็นผู้บริสุทธิ์แต่กลับต้องมาเป็นเหยื่อกับเหตุการณ์ในครั้งนี้

บทความนี้จึงต้องการจะหาถึงปัจจัยในการก่อเหตุกราดยิงในหลาย ๆ กรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งหากจะใช้ข้อมูลของประเทศไทยนั้นเป็นไปได้ยากเนื่องจากนี่เป็นครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ ดังนั้นจึงใช้ข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกาในการที่จะวิเคราะห์และเทียบบริบทบางอย่างในการศึกษา

สาเหตุที่เลือกข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกา

เนื่องจากมี case studies มากพอที่จะนำมาศึกษาให้เห็นภาพองค์รวมได้ และมีตัวแปรที่น่าสนใจในการทำความเข้าใจ (ไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจในการก่อเหตุ ประเภทอาวุธที่ใช้ก่อเหตุ รายละเอียดของผู้ก่อเหตุ เช่น อายุ เพศ หรือประสบการณ์การเป็นทหารของผู้ก่อเหตุ เป็นต้น) อีกทั้งง่ายต่อการศึกษาเนื่องจากเป็นภาษาอังกฤษ

หากจะกล่าวถึงเรื่องราว

ผู้เขียนเองขอรวบเป็นประเด็นง่าย ๆ 3 ประเด็น ดังนี้

  1. What is interesting things in USA?

เริ่มแรกคือเรื่องของการทำความเข้าใจถึงภาพรวมของเหตุการณ์กราดยิงในประเทศสหรัฐอเมริกาว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ น่ า ส น ใ จ

2. Context that we learn from USA

จากนั้นนำ insight ที่เราได้มาจากข้อมูลมาหาบริบทบางอย่างที่อาจเกี่ยวข้อง โดยบทความนี้จะลองนำกฎหมายของบางรัฐมากล่าวถึงให้เห็นมาตรการควบคุมอาวุธเบื้องต้นและกรณีตัวอย่างเหตุกราดยิงจากต่างประเทศ

3. Thailand’s deadliest mass shooting

และสุดท้ายคือการย้อนกลับมาดูเหตุการณ์ในประเทศไทยและมาร่วมกันตั้งคำถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจในคำว่าการกราดยิง หรือ mass shooting เสียก่อน เพื่อที่ผู้อ่านจะได้เข้าใจถึงความหมายได้อย่างตรงกัน

การกราดยิงหรือ mass shooting คือเหตุการณ์ที่มีเหยื่อจำนวนมากจากอาวุธปืน ซึ่งไม่ได้มีนิยามที่แน่ชัดในเรื่องของระยะเวลาการเกิด แต่ข้อมูลจาก FBI ได้นิยาม mass murder ว่า “ต้องมีผู้ตกเป็นเหยื่อตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป” และ “ไม่มีการหยุดพักในตลอดช่วงเวลาก่อเหตุ” หากอิงตาม mass murder มาช่วยในการทำความเข้าใจคำว่า mass shooting มากขึ้น ก็อาจจะนิยามเพิ่มเติมได้ว่า

เหตุการณ์ที่มีเหยื่อจำนวนมากจากอาวุธปืน ซึ่งจะต้องมีผู้ตกเป็นเหยื่อตั้งแต่ 4 คนขึ้นไปและไม่มีการหยุดพักในตลอดช่วงเวลาก่อเหตุ

source Author worked via Tableau

1. What is interesting things in USA?

จากการที่เราได้หา insight ของข้อมูลทำให้เราพบว่ามีประเด็นบางอย่างที่น่าหยิบยกมากล่าวให้ทุกท่านได้อ่านและคิดวิเคราะห์ไปพร้อมกับผู้เขียน ดังนี้

ประเภทของปืนที่ใช้ก่อเหตุและเพศที่ก่อเหตุ

จาก Heatmap ดังกล่าว จะเห็นได้ชัดว่า เพศชาย เป็นเพศที่มีการก่อเหตุกราดยิงมากที่สุด โดยอาวุธที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ ปืนพก

เท่านั้นหาได้เพียงพอต่อการศึกษาไม่ จึงได้มีการดึงตัวแปรอีกหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ล่าสุดของจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย นั่นคือ ประสบการณ์การเป็นทหารของผู้ก่อเหตุกราดยิง

ประเภทปืนที่ใช้ก่อเหตุกับประสบการณ์ทหาร
ของผู้ก่อเหตุ*

จะเห็นได้ชัดว่าผู้มีประสบการณ์การเป็นทหารนั้นจะมีกรณีการก่อเหตุกราดยิงที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด และอาวุธที่มักจะใช้ก่อเหตุคือ ปืนหลายกระบอก ซึ่งสามารถอนุมานได้ว่าเมื่อพวกเขาเป็นทหาร การมีปืนหลายชนิด/หลายกระบอก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกและอาจได้รับอนุญาตให้ครอบครองปืนเหล่านี้ได้โดยปราศจากขั้นตอนที่มากมายผิดกับประชาชนพลเรือนทั่วไป และที่น่าสังเกตคือสำหรับผู้ก่อเหตุที่ไม่เคยเป็นทหารนั้นไม่เคยมีประวัติการใช้ปืนยาว
*
สำหรับเพศที่ผ่านประสบการณ์ทหารคือเพศชายทั้งหมด

ในการก่อเหตุกราดยิงนั้น ช่วงอายุ แรงจูงใจ และประเภทสถานที่ของการก่อเหตุย่อมเป็นอีกสิ่งที่น่าพิจารณา เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงแนวโน้มดังกล่าวและนำมาศึกษาถึงวิธีการรับมือกับเหตุการณ์ที่มีโอกาสขึ้นอีกเพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นเชิญผู้อ่านมาร่วมเห็น insight ของข้อมูลไปด้วยกัน

Note: สีเหลืองในชาร์ทคือช่วงอายุของผู้ก่อเหตุกราดยิงที่โคราช

ช่วงอายุของผู้ก่อเหตุกราดยิง

จากข้อมูลเราจะพบว่าช่วงอายุที่มีการก่อเหตุกราดยิงมากที่สุดคือช่วง 20–29 ปี (ผู้ก่อเหตุที่โคราชอายุ 32 ปี) และอันดับรองลงมาคือช่วง 10–19 ปี ซึ่งทำให้เกิดคำถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นเพราะอะไรในช่วงอายุที่น้อยว่า 30 ปี นั้นจึงได้ทำการก่อเหตุในจำนวนมาก ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาถึงบริบทของสังคมต่อไป

Note: สีเหลืองในชาร์ทคือแรงจูงใจของผู้ก่อเหตุกราดยิงที่โคราช

แรงจูงใจในการก่อเหตุการณ์

สำหรับแรงจูงใจในการก่อเหตุสาเหตุอับดับ 1 คือ ไม่ทราบ ซึ่งหลายครั้งก็เกิดเหตุการณ์กราดยิงเพื่อความสนุกสนานเพียงเท่านั้น แต่หากจัดเป็นกรณีที่ทราบสาเหตุกับไม่ทราบสาเหตุนั้น จะพบว่าในกรณีที่ทราบสาเหตุ สาเหตุอันดับที่ 1 คือ Social dispute หรือ ปัญหาทางสังคม ซึ่งนี่เป็นเรื่องที่ภาครัฐจะต้องมีส่วนในการจัดการให้มากขึ้น

Note: สีเหลืองในชาร์ทคือสถานที่ของผู้ก่อเหตุกราดยิงที่โคราชที่เคยไป

ประเภทสถานที่ที่เกิดเหตุ

สถานที่ยอดนิยมที่สุดในการก่อเหตุคือ Residential home หรือ ละแวกชุมชนและที่พักอาศัย ซึ่งจากชาร์ทจะเห็นว่ามีจำนวนการก่อเหตุที่สูงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการมีมาตรการป้องกันที่สถานที่พักอาศัยจึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมากขึ้น

2. Context that we learn from USA

source Hex map created by Tableau

ผู้อ่านจะเห็นว่าชาร์ทดังกล่าวนั้นมี 2 แผนที่โดยแผนที่ด้านบนแสดงถึงจำนวนเหตุการณ์กราดยิงในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนแผนที่ด้านล่างแสดงถึงจำนวนเหยื่อโดยเฉลี่ยต่อ 1 เหตุการณ์กราดยิงในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะสังเกตถึงความสัมพันธ์บางอย่างที่อาจเห็นได้จากการทำเป็นแผนที่ขึ้นมา เช่น รัฐต่าง ๆ ในบริเวณตะวันออกเป็นส่วนใหญ่จะมีจำนวนเหตุการณ์กราดยิงมาก แต่จำนวนเหยื่อโดยเฉลี่ยต่อ 1 เหตุการณ์กราดยิงจะพบว่ามีน้อย

ในทำนองเดียวกัน ก็มีบางรัฐที่จำนวนเหตุการณ์กราดยิงน้อย แต่จำนวนเหยื่อโดยเฉลี่ยต่อ 1 เหตุการณ์กราดยิงจะพบว่ามีมาก เช่น DC — District of Columbia เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้เขียนจึงสนใจที่จะนำกฎหมายการคุมอาวุธบางรัฐที่น่าสนใจมานำเสนอ ซึ่งมีรัฐ OH—Ohio (โอไฮโอ) และ DC — District of Columbia (เขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย/วอชิงตัน ดี. ซี.)

OH — Ohio (โอไฮโอ)

สำหรับรัฐโอไฮโอ จะพบว่าจำนวนเหตุการณ์กราดยิงมาก แต่จำนวนเหยื่อโดยเฉลี่ยต่อ 1 เหตุการณ์กราดยิงจะพบว่ามีน้อย ผู้เขียนจึงขอนำเสนอถึงกฎหมายควบคุมอาวุธดังต่อไปนี้

กฎหมายควบคุมอาวุธปืนของรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา

หมายเหตุ

  • จะถือครองอาวุธปืนได้ จะต้องมีการอนุญาตตามกฎหมาย
  • ห้ามพกปืนในที่สาธารณะ เว้นแต่บางสถานที่ เช่น ยานพาหนะและร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

DC — District of Columbia (เขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย/วอชิงตัน ดี. ซี.)

สำหรับเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย จะพบว่าจำนวนเหตุการณ์กราดยิงน้อย แต่จำนวนเหยื่อโดยเฉลี่ยต่อ 1 เหตุการณ์กราดยิงจะพบว่ามีมาก และกฎหมายควบคุมอาวุธปืนของรัฐนี้ดังต่อไปนี้

กฎหมายควบคุมอาวุธปืนของเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา

หมายเหตุ

  • จะถือครองอาวุธปืนได้ จะต้องมีการอนุญาตตามกฎหมาย
  • จะต้องขอใบจดทะเบียนปืนที่กรมตำรวจนครบาลของรัฐ
  • มีการตรวจสอบการซื้อ-ขายของปืน ต้องมีการลายเซ็นต์ซื้อ-ขายอย่างละเอียด
  • จำกัด magazine (ลูกกระสุนของปืนที่ครอบครอง)

ในการควบคุมอาวุธของทั้ง 2 รัฐจะเห็นได้ชัดว่าเขตปกครองพิเศษโคลัมเบียมีมาตราการที่รัดกุมมากกว่ารัฐโอไฮโอ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้จำนวนเหตุการณ์ของเขตปกครองพิเศษโคลัมเบียมีน้อยกว่าของรัฐโอไฮโอ เช่น รัฐโอไฮโอสามารถให้พกพาอาวุธปืนในที่สาธารณะได้ทุกชนิด ไม่มีการตรวจสอบประวัติการซื้อ-ขาย ไม่จำกัดกระสุน เป็นต้น นั่นคือรัฐโอไฮโอมีเสรีในการใช้อาวุธปืนมากกว่า

แต่หากจะให้วิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใด ทำไมจำนวนเหยื่อโดยเฉลี่ยต่อ 1 เหตุการณ์ของเขตปกครองพิเศษโคลัมเบียจึงมีมากกว่าของรัฐโอไฮโอ ก็อาจจะเป็นเพราะว่าในกฎหมายของเขตปกครองพิเศษโคลัมเบียนั้นในส่วนของการอนุญาตให้ถือครองอาวุธนั้นไม่ได้กล่าวถึงในส่วนของปืนยาว ซึ่งปืนยาวนั้นย่อมมีความรุนแรงในการสร้างความเสียหายที่มากกว่าปืนสั้นเป็นธรรมดา จึงทำให้ผลเรือนอาจมีไว้ครอบครองก็เป็นได้โดยที่ทางรัฐไม่ทราบหรือทราบแต่ห้ามไม่ได้เพราะไม่ได้มีการระบุไว้

และสำหรับกฎหมายของประเทศไทยในการควบคุมอาวุธปืน ได้กล่าวไว้ดังนี้

กฎหมายควบคุมอาวุธปืนของประเทศไทย

หมายเหตุ

  • อ้างตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490
  • จะถือครองอาวุธปืนได้ จะต้องมีการอนุญาตตามกฎหมาย พร้อมทั้งบอกถึงวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ ตามมาตรา 9
  • จะต้องขอใบจดทะเบียนปืนที่นายทะเบียน ณ กองทะเบียนกรมตำรวจ
  • ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ไม่ว่ากรณีใด ห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้น เพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด ตามมาตรา 8 ทวิ*
  • กฎหมายของไทยไม่ได้ระบุว่าถือครองกระสุนได้จำนวนเท่าไหร่ แต่มีการระบุไว้ว่า“ซื้อได้ปีละ 36 นัด ครั้งละ 12 นัด” และตามมาตรา 8 ได้กล่าวว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้”

จะเห็นว่าประเทศไทยมีการควบคุมอาวุธที่รัดกุมพอสมควร พลเรือนทั่วไปจึงอาจมีการครอบครองอาวุธปืนได้ยาก แต่ในความเป็นจริงแล้วบางข้อก็อาจจะไม่สามารถปฏิบัติตามได้ เช่นว่า ซื้อได้ปีละ 36 นัด ครั้งละ 12 นัด ในปืนบางกระบอกนั้น 1 magazine อาจมีมากกว่า 12 นัดหรือ 1 กล่องกระสุนก็ไม่ได้บรรจุกระสุนเป็นโหลไว้ ซึ่งร้านขายอาวุธปืนก็คงไม่มีการแบ่งขายกระสุนตามกฎหมายได้ว่าไว้เพราะทำได้ค่อนข้างลำบาก

ทั้งนี้ กฎหมายของแต่ละรัฐที่นำเสนอนั้นเป็นส่วนหนึ่งของบริบทที่น่าจะพอเปรียบเทียบได้กับประเทศไทยในการควบคุมอาวุธเบื้องต้น ซึ่งการมีกฎหมายที่รัดกุม ชัดเจน ทำให้การควบคุมเหตุร้ายจากอาวุธปืนเบื้องต้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และทางผู้เขียนขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาการกราดยิงในสหรัฐอเมริกาที่น่าสนใจให้ผู้อ่านได้ลองดู

2019 Dayton shooting

source New video, photos released in Dayton mass shooting l ABC News by ABC News

เหตุการณ์กราดยิงครั้งนี้เกิดขึ้นที่เมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต 10 ราย (รวมผู้ก่อเหตุซึ่งโดนวิสามัญและ 1 ในผู้เสียชีวิตมีน้องสาวของเขาด้วย) และบาดเจ็บ 27 ราย อาวุธที่ใช้คือปืนยาวแบบ semi-automatic และกระสุน 100 drum magazines ซึ่งสถานที่คือบริเวณ Ned Peppers Bar

สำหรับมาตรการการควบคุมนั้น 20 วินาทีหลังจากมีการแจ้งเหตุ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ Richard Biehl ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายควบคุมบริเวณที่เกิดเหตุดังกล่าวได้อย่างทันท่วงที และสามารถวิสามัญคนร้ายในเวลาไม่ถึงนาที

source ปืนที่ใช้ก่อเหตุ by en.ratech.com.tw

ผู้ก่อเหตุมีความเชื่อในเรื่องของซาตาน เป็นลัทธินับถือชายเป็นใหญ่ และหัวรุนแรงด้านการเมืองเป็นอย่างมากและ 1 ชั่วโมงก่อนก่อเหตุเขาได้กดถูกใจโพสต์ของการควบเหตุการณ์กราดยิงที่เอลปาโซ รัฐเท็กซัส (ซึ่งเกิดขึ้นก่อนโอไฮโอเพียง 13 ชั่วโมงเท่านั้น)

โดยข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ก่อเหตุเบื้องต้นที่ได้จากการสัมภาษณ์เพื่อน 2 คนและแฟนเก่าของเขาสมัยเรียนมัธยมนั้น เพื่อนสมัยมัธยมของผู้ก่อเหตุได้บอกว่าเขาเคยถูกสักพักการเรียนเนื่องจากเคยทำรายชื่อคนที่เขาจะฆ่าและข่มขืน อีกทั้งเขายังเคยคิดจะก่อเหตุกราดยิงที่โรงเรียนมาแล้ว คงมาจากการที่เขามักจะถูกบูลลี่เสมอ ในส่วนของแฟนสมัยมัธยมของผู้ก่อเหตุก็ได้ให้ข้อมูลว่าเขามักจะเห็นภาพหลอนและมีอาการหลงผิดอยู่บ่อยครั้งและผู้ก่อเหตุมักจะบ่นกับเธอเสมอว่าเขากลัวจะเป็นโรคจิตเภทที่รุนแรงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐานนั้นก็ได้หลักฐานมาไม่น้อยแต่ก็ไม่พบถึงความชัดเจนถึงแรงจูงใจในการก่อเหตุกราดยิงในครั้งนี้

จากกรณีตัวอย่างดังกล่าวทำให้เรามองเห็นถึงบริบทจากการก่อเหตุมากขึ้นในแง่ของการเปรียบเทียบกฎหมายและตัวบุคคลที่ก่อเหตุในเรื่องของวิถีชีวิตซึ่งอาจมีผลต่อการก่อเหตุไม่มากก็น้อย

3. Thailand’s deadliest mass shooting

จากที่ได้พูดถึงข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว ในประเด็นนี้จะพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยกัน ซึ่งผู้อ่านสามารถกดดูเรื่องราวได้ดังที่ผู้เขียนทำไว้
*ขออนุญาตสงวนชื่อผู้ก่อเหตุและเหยื่อในบทความนี้

Story map of Korat mass shooting

created by Knight lab

สำหรับท่านที่สนใจในเรื่องของสาเหตุที่มาจากการเจรจราด้านการเงินที่ไม่ลงรอยนั้น สามารถอ่านบทความเรื่อง “จ่า”และ“เงินทอน”เมื่อทัพบกปฏิเสธการมีอยู่จริง

และจะเห็นว่าผู้ก่อเหตุได้มีการปล้นอาวุธจากคลังอาวุธซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือบริบทของกฎหมายในประเด็นที่ 2 จึงได้มีการหาข้อมูลเกี่ยวกับการปล้นคลังอาวุธของประเทศไทย

Note: สีเหลืองในชาร์ทคือรวมผู้ก่อเหตุกราดยิงที่โคราชอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว

สถิติการปล้นอาวุธในประเทศไทย

จะเห็นว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น ช่วงเวลาที่มีการก่อเหตุผล้นอาวุธมากที่สุดคือ ช่วงเวลากลางคืน และลักษณะการปล้นที่นิยมมากที่สุดคือ การปล้นอุกอาจ (โดยเฉพาะช่วงกลางวัน) เป็นต้น

Note: สีเหลืองในชาร์ทคือรวมผู้ก่อเหตุกราดยิงที่โคราชอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว

จากนั้นจากข้อมูลจะพบว่าบุคคลที่ทำการก่อเหตุปล้นอาวุธนั้น จะสังกัดอยู่ในหน่วยงานราชการทั้งสิ้น โดยสังกัดหน่วยงานทหาร และรองลงมาคือสังกัดหน่วยงานตำรวจ

หลังจากนี้ต่อไป

จากที่เราได้กล่าวไปทั้งหมด 3 หัวข้อ

จะเห็นว่าในประเด็นแรกและประเด็นที่สองได้กล่าวถึงรายละเอียดโดยรวมของเหตุการณ์กราดยิงของประเทศสหรัฐฯ และการได้เห็นถึงมาตรการการควบคุมอาวุธและการควบคุมสถานการณ์จากกรณีตัวอย่างที่ใช้เวลาไม่นานมาก ซึ่งในกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นใช้เวลาระงับเหตุได้ช้าเกินไปแต่อาจเป็นเพราะมีปัจจัยบางอย่างที่เป็นแบบนั้น เช่น การถ่ายทอดสดของสื่อหลายสำนักที่ทำให้ผู้ก่อเหตุไหวตัวทันจากการกระทำของสื่อ เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการเป็นมาตรการหลักในการปฏิบัติเพื่อระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที

และเรื่องภายในกองทัพก็เป็นอีก 1 ชนวนเหตุสำคัญของเหตุการณ์กราดยิงในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของมาตราการควบคุมคลังอาวุธหรือเรื่องของเงินทอนในกองทัพที่สร้างความไม่ยุติธรรมแก่ทหารผู้น้อย ซึ่งจะต้องปฏิรูปกองทัพเสียใหม่เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้อีก

References

--

--

Supawich O.

คนคนหนึ่งที่พร่ำเพ้อถึงเธอเสมอ